
กลับไปหน้าแรก ผู้ผลิตสารกราฟีนบริสุทธิ์
กราไฟด์สู่กราฟีน
Graphite oxide Graphene oxide To Graphene Powder Product
เปิดรับหุ้นส่วนธุรกิจการผลิตสารกราฟีน และผลิตภัณฑ์จากสารกราฟีน ร่วมหุ้น ร่วมลงทุน ร่วมสนับสนุนโครงการ กราไฟต์ สู่กราฟินบริสุทธิ์
อาจารย์เอกสิริ ธีรกุล ผู้คิดค้นเทคนิคการสกัดสารกราฟีนบริสุทธิ์ ด้วยขบวนการอีเล็คโทรไลท์ โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
สามารถผลิต และสกัดสารกราฟีนบริสุทธิ์ได้ในระดับโรงงานอุตสาหกรรม

เป้าหมายโครงการของเรา นำกราฟีนไปผลิตสินค้าได้อย่างมากมายหลากหลาย และเป็นประโยชน์อย่างสูงในเชิงพาณิชย์
ผลิตแบตเตอรี่กราฟีน Energy Storage ผลิต ตัวเก็บประจุยิ่งยวด SuperCapacitor
ผลิตเสื้อเกราะกันกระสุน เสื้อป้องกันรังสี ผลิควัสดุเพิ่มความแข็งแรงที่ใช้ในอุตสาหกรรมมากมาย
ฯลฯ
โครงการผลิตแบตเตอรี่จากสารกราฟีน
แบตเตอรี่กราฟีน

ใช้สารสกัดกราฟีนบริสุทธิ์เพื่อผลิต Super Capacitor

อุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์ ผลิตชิ้นส่วนโมเลกุลระดับนาโน เช่นชิปอีเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋ว

ผลิตภัณฑ์ใหม่ในวงการแพทย์ หน้ากากอนามัย สามารถกันฝุ่น และปัองกันเชื้อแบคทีเรียได้

เสื้อเกราะกันกระสุน เสื้อเกราะกราฟีนแข็งแรงกว่าเหล็ก 100 เท่า กันกระสุนเจาะเกราะได้

ผ้าห่มกราฟีน ผ้าห่มอัศจรรย์ปรับอุณหภูมิให้พอดีกับร่างกายได้อย่างอัตโนมัติ

คุณสมบัติพิเศษในการนำความร้อน และไฟฟ้า นำมาสร้างสรรคเสื้อผ้ากันความร้อน และกันหนาวได้ดี
กราฟีนเป็นวัสดุที่ดีเยี่ยมในการปรับปรุงเสื้อผ้าเพราะสามารถนำความร้อนและไฟฟ้าได้
ความสามารถที่ดีเยี่ยมในการกักเก็บความร้อนและนำไฟฟ้าทำให้เหมาะสำหรับเสื้อผ้าคนท้อง
ประโยชน์ใช้สอย และสมาร์ท เนื้อผ้าที่มีกราฟีนสามารถถ่ายเทความร้อนและไฟฟ้าได้ และเสื้อแจ็คเก็ตที่ให้ความร้อนก็เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้

จะเป็นอย่างไรหากนำ Graphene มาใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
ปูนซีเมนต์ผสมสารกราฟีน เพิ่มความแข็งแรง เกิดเป็นคอนกรีตประสิทธิภาพสูง เพิ่มการยิดเกาะและเพิ่มความแข็งแรงได้ 50%

ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง คอนกรีตถือเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในทุกสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน สะพาน อุโมงค์ หรือถนนหนทางต่างๆ และยังเป็นทรัพยากรที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาใช้มากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยในตัวคอนกรีตนั้นจะประกอบไปด้วยปูนซีเมนต์ มวลหยาบมวลละเอียด และน้ำ ซึ่งซีเมนต์นี่เองที่เป็นหนึ่งในตัวการที่ทำให้เกิดมลภาวะต่อโลก เนื่องจากการผลิตซีเมนต์มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 8% ของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาทั่วโลก หากเปรียบอุตสาหกรรมการผลิตซีเมนต์เป็นประเทศ จะกลายเป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองเพียงประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้คุณสมบัติของคอนกรีต มักขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของซีเมนต์ รวมทั้งมวลหยาบมวลละเอียดของทรายและหินกรวด ซึ่งมีจุดด้อยเรื่องความเปราะ (Brittleness) และการรับแรงดึงยืด (Tensile Strength) ต่ำ และด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้กราฟีนถูกจับตามอง ที่จะนำมาเป็นส่วนผสมในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของคอนกรีตให้ดีขึ้น แถมยังช่วยลดการใช้ซีเมนต์ให้น้อยลง
แล้วกราฟีนช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของคอนกรีตคอมโพสิตให้ดีขึ้นได้อย่างไร
อย่างแรกคือ เร่งการเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชัน (Nucleation Effect) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำ
ได้เป็นสารประกอบใหม่ คือ แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (Ca-S-H) เป็นสารที่ทำให้คอนกรีตรับกำลังอัดได้ดีขึ้น เพราะกราฟีนมีขนาดเล็กมากๆ
และมีพื้นที่จำเพาะสูง เมื่อกระจายตัวในซีเมนต์เพสต์ สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาไฮเดรชันได้ดี ส่งผลให้มีปริมาณ Ca-S-H เพิ่มมากขึ้น
อย่างที่สอง ก็คือ ลดรูพรุนในโครงสร้างของคอนกรีตคอมโพสิต (Nano-Filling Effect)
อย่างที่เรารู้กันว่ากราฟีนมีขนาดเล็กมากๆ จึงสามารถช่วยอุดช่องว่างภายในซีเมนต์เพสต์ได้ดี ทำให้ลดปริมาณและขนาดรูพรุนในโครงสร้างได้ โดยซีเมนต์เพสต์ทั่วไปจะมีรูพรุนมากมายในโครงสร้างและเกิดการแตกเมื่อบ่มผ่านไป 28 วัน
ในขณะที่ซีเมนต์เพสต์ที่เพิ่มกราฟีน 0.05 % โดยน้ำหนักลงไป จะมีรูพรุนลดน้อยลงและไม่เกิดการแตก
การอัดตัวแน่นและสม่ำเสมอของซีเมนต์เพสต์จะทำให้ได้คอนกรีตและรับกำลังอัดได้ดี
ต่อมาคือ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและการยึดเกาะที่ดี (Bonding Effect) จากการเกิดพันธะทางเคมีเชื่อมต่อกันระหว่างกราฟีน
อนุภาคซีเมนต์ และสารประกอบที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮเดรชัน ที่แบ่งออกเป็น 2 พันธะ คือ พันธะไอออนิก (Ionic Bond
) ระหว่างสารประกอบที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮเดรชัน (Ca-S-H) และหมู่ฟังก์ชันที่มีออกซิเจนบนกราฟีนออกไซด์
และพันธะไฮโดรเจน (Hydrogen Bond) ระหว่างโมเลกุลของน้ำในซีเมนต์, Ca-S-H และหมู่ไฮดรอกซิลบนกราฟีนออกไซด์
การยึดกันด้วยพันธะทางเคมีเหล่านี้ จะทำให้คอนกรีตมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น
และสุดท้ายคือ ช่วยป้องกันการเกิดและการขยายตัวของรอยแตกขนาดเล็ก (Toughening Effect)
เมื่อคอนกรีตได้รับแรงกดอัด จะเกิดการส่งแรงมายังกราฟีน เนื่องจากกราฟีนเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก
จึงสามารถดูดซับแรงและกระจายแรงไปยังส่วนต่างๆ ของคอนกรีตได้ ทำให้ช่วยป้องกันการแตกและขัดขวางการขยายของรอยแตก
ซึ่งเราพบว่า การใช้กราฟีน 0.02 – 1 % โดยน้ำหนัก สามารถช่วยเพิ่มสมบัติเชิงกลของคอนกรีตได้ดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นการรับแรงโค้งงอ แรงกดอัด หรือแรงดึงยืด นอกจากนี้กราฟีนยังช่วยลดการดูดน้ำของคอนกรีตได้สูงถึง 80% ทำให้ช่วยเพิ่มความคงทนให้กับคอนกรีตและสามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น
เราคงเห็นจากคุณสมบัติที่ผ่านมา กราฟีนนั้นสามารถช่วยยกระดับคุณภาพวัสดุในงานก่อสร้างได้
แต่อย่างไรก็ตาม กราฟีนก็ยังคงมีราคาแพงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสารเคมีชนิดอื่น ปัจจุบันจึงมีการนำกราฟีนมาใช้ในคอนกรีตคอมโพสิตน้อยอยู่
แต่เชื่อว่าในอนาคตเราจะได้เห็นกันมากขึ้นอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ยังมีการคาดเดาเกี่ยวกับการใช้กราฟีนในอนาคตสำหรับการผลิตส่วนประกอบโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบาและทนทานกว่าสำหรับรถยนต์
เครื่องบิน เรือและอุปกรณ์ต่างๆ ใช้ร่วมกับวัสดุเทียม (เช่น ยาง) เพื่อสร้างยางที่นำความร้อนได้ จากกราฟีน กระดาษที่แข็งแรงมากซึ่งสามารถนำไฟฟ้าได้ได้รับการพัฒนาขึ้นแล้ว

ร่วมหุ้น ร่วมลงทุน ร่วมสนับสนุนโครงการ กราไฟต์ สู่กราฟินบริสุทธิ์
สั่งจองคิวการผลิต สารกราฟีนบริสุทธิ์ ผลิตโดย homeenergy ติดต่อผู้ผลิต อาจารย์เอกสิริ CEO บริษัท เอเคอี อินโนเวชั่น จำกัด
Call 061 3612563 Line: homeenergy
|